หมวดหมู่: เกษตร

Swineวิวัฒน์


ปี 63 หมูไทยยังแกร่ง ย้ำทุกภาคส่วนจับมือเหนียวแน่นฝ่า ASF-โควิด ไปด้วยกัน

โดย นายสัตวแพทย์ วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย

อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

 

          ตลอดปี 2563 เป็นปีที่อุตสาหกรรมสุกรทั่วโลกต้องเผชิญหน้ากับความท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรค ASF ในสุกร และสถานการณ์นี้เอง สะท้อนให้เห็นภาพความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้เกี่ยวข้องในวงการสุกรไทยในทุกภาคส่วน ที่ช่วยกันเฝ้าระวังและป้องกันโรคนี้อย่างเข้มแข็ง ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียที่คงสถานะปลอดโรค ASF จนถึงปัจจุบัน ช่วยตอกย้ำถึงมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยทางอาหารของสุกรไทยได้เป็นอย่างดี

          สำหรับปริมาณการผลิตสุกรของไทยในปี 2563 นี้ ผู้ประกอบการฟาร์มสุกรครบวงจรและเกษตรกรรายย่อยทั้งประเทศร่วม 200,000 ฟาร์ม มีผลผลิตสุกรมากกว่า 22 ล้านตัวต่อปี เพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่การผลิตอยู่ที่ 20.43 ล้านตัว ปริมาณการผลิตขยายตัวตามจำนวนประชากร ประกอบกับราคาสุกรมีชีวิตจูงใจให้เกษตรกรขยายการผลิต หลังจากที่ช่วงกลางปี 2562 ราคาสุกรตกต่ำเป็นอย่างมากจากปัญหา Over supply และมีปัจจัยเสริมจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับ ASF ทำให้เกษตรกรทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ ต่างระมัดระวังในการเข้าเลี้ยงสุกรมากขึ้น โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ขาดทุนสะสมมานานกว่า 3 ปีก่อนหน้านี้ เมื่อปริมาณสุกรในภาพรวมลดลง ราคาพลิกกลับมาดีขึ้น เกษตรกรจึงหันมาเพิ่มการผลิตรองรับความต้องการบริโภค ขณะเดียวกัน การบริหารจัดการฟาร์มและป้องกันโรคระบาดได้เป็นอย่างดี ทำให้ประสิทธิภาพในการเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น

          ทั้งนี้การผลิตสุกรของไทยเป็นการผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศเป็นหลักประมาณ 97% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรของคนไทยอยู่ที่ปริมาณ 1.49 ล้านตัน ในปี 2563 เพิ่มขึ้น 0.68% จากปี 2562 โดยการผลิตสุกรยังคงเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ ไม่เคยมีปัญหาขาดแคลน

 

ตาราง : ข้อมูลต้นทุนการผลิตและราคาจำหน่ายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มเกษตรกร ปี 2563

รายการ

..

..

มี..

เม..

..

มิ..

..

..

..

..

..

..

เฉลี่ย

ต้นทุน

60.83

59.40

61.23

67.58

75.23

71.55

69.81

66.55

68.67

71.24

76.39

77.98

68.87

ราคา

76-80

72-76

69-75

66-71

68-74

69-77

77-79

79-80

79-80

78-80

72-79

71-80

73-78

 

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) / สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

 

          จากตารางข้อมูลการผลิตสุกรจะเห็นว่าราคาสุกรตลอดทั้งปีมีความผันผวน และต้องพบกับความท้าทายเมื่อโควิด-19 มีการระบาดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ กระทบต่อการท่องเที่ยวและการจับจ่าย ยิ่งเมื่อรัฐบาลประกาศล็อคดาวน์ ปิดสถานที่เสี่ยง ทำให้ราคาขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกรเริ่มเข้าสู่ภาวะตกต่ำ กระทั่งเริ่มทยอยปลดล็อคดาวน์ในช่วงพฤษภาคม ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรจึงกลับมาคึกคักขึ้น ประกอบกับขณะนั้นยังอยู่ในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนแปรปรวนและภัยแล้ง ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตสุกรเสียหายกว่า 10% กลไกตลาดดังกล่าวทำให้ราคาสุกรฟื้นตัวได้อีกครั้งและประคองตัวมาได้ หากแต่ต้นทุนการเลี้ยงสุกรก็ปรับขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน ทั้งจากการลงทุนระบบ Biosecurity ในฟาร์มเพื่อป้องกันโรค ASF และโรค PRRS อย่างเข้มงวด ตลอดจนปัญหาภัยแล้งอากาศแปรปรวน

          อย่างไรก็ตาม สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและเกษตรกรทั่วประเทศยังคงยืนหยัดราคาสุกรหน้าฟาร์ไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัม ตามที่กรมการค้าภายในขอความร่วมมือ เพื่อร่วมกันดูแลค่าครองชีพแก่ประชาชนไทยในวิกฤตโควิด-19 

          สำหรับการส่งออกมีการขยายตัวจากความต้องการสุกรของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย โดยเฉพาะ จีน เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา ที่ประสบปัญหา ASF ทำให้ปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ และราคาสุกรมีชีวิตเพิ่มขึ้น 2-3 เท่าตัวจากภาวะปกติ ตามกลไกตลาด จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไทย ทั้งในส่วนของสุกรพันธุ์ สุกรขุนมีชีวิต และเนื้อสุกกร จากมาตรฐานของไทยที่สามารถผลิตสุกรคุณภาพปลอดสาร ปลอดภัย ปลอดโรค

          เนื่องจากไทยมีระบบฟาร์มมาตรฐานที่แข็งแกร่งทั้งฟาร์มเชิงพาณิชย์ ที่เลี้ยงภายใต้มาตรฐาน GAP และมาตรฐาน GFM ในฟาร์มขนาดเล็ก ที่กรมปศุสัตว์ผลักดันให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง โดยทั้งสองมาตรฐานมุ่งเน้นการปกป้องฟาร์มและฝูงสัตว์ ด้วยจัดการฟาร์มให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity System) ที่เข้มงวด


121082 Swine

 

          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการจัดการฟาร์มสุกรในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพและควบคุมโรคระบาดได้ดีขึ้น จากประสบการในการป้องกัน ASF มานานกว่า 2 ปี หากแต่ในช่วงที่ผ่านมายังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องโรคในสุกร เช่น โรค PRRS หรือเพิร์ส ทำให้การผลิตสุกรเสียหายเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อยและฟาร์มขนาดเล็ก

          สำหรับคาดการณ์อุตสาหกรรมสุกรในปี 2564 แม้จะมีความท้ายทายจากวิกฤตโควิด-19 และสถานการณ์ ASF ที่ยังพบการระบาดในประเทศต่างๆ รอบๆ ไทย แต่แนวโน้มภาพรวมยังคงสดใส จากความต้องการบริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งในไทยและภูมิภาคเอเชีย ขณะที่ปริมาณการผลิตน่าจะใกล้เคียงกับปีนี้ จากภาวะโรค ASF และ PRRS ที่ยังต้องเฝ้าระวัง และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงลดความเสี่ยง ด้วยการเข้าเลี้ยงสุกรบางลง ไม่เต็มกำลังการผลิต สอดคล้องกับการผลิตสุกรทั่วโลกที่ลดลงจากปัจจัยดังกล่าว และเชื่อว่าสุกรจะยังคงเป็นสินค้าปศุสัตว์เดียวที่เหลืออยู่ ที่จะสามารถนำเงินตราเข้าประเทศได้ในวิกฤตโควิด-19 เช่นนี้

          วันนี้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ยังคงจับมือเหนียวแน่น เพื่อตั้งค่ายกลป้องกัน ASF ที่แข็งแกร่ง ปกป้องอาชีพเลี้ยงสุกร ให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติในวิกฤตโควิดเช่นนี้ต่อไป

 

A121082

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!