หมวดหมู่: น้ำมัน-แก๊ส

OIL2


ราคาน้ำมันดิบเคลื่อนไหวในกรอบแคบ จากความกังวลผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ Astrazeneca และการแพร่ระบาดใหม่ในยุโรป ท่ามกลางมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และมาตรการ QE ของเฟด

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 22 มีนาคม 2564

             

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 61-66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 63-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล                                           

                                   

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (22 - 26 มี.ค. 64)

         ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวในกรอบแคบ หลังวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท Astrazeneca ถูกระงับหรือเลื่อนการฉีดออกไปในกลุ่มประเทศยุโรป อาทิเช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส หลังพบผู้เสียชิวิตจากการฉีดวัคซีนดังกล่าว ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่พบข้อพิสูจน์ถึงผลข้างเคียง นอกจากนั้น จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หลายประเทศต้องบังคับใช้มาตรการล็อคดาวน์อีกครั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบนั้นได้รับแรงหนุนจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) ต่อเนื่องเพื่อพยุงและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ

 1aoil22 3w

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ :

           ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันหลังประเทศในยุโรปอย่างน้อย 17 ประเทศ รวมถึงเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี ได้ประกาศระงับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของ AstraZeneca เนื่องจากพบรายงานผู้เสียชีวิตราว 30 รายจากอาการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ และผลข้างเคียงที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก ยังไม่พบหลักฐานข้อพิสูจน์เกี่ยวกับผลข้างเคียงและยังมองว่าการฉีดวัคซีนยังคงมีผลดีมากกว่าผลเสีย 

           จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 121 ล้านคน และยอดผู้เสียชีวิตราว 3 ล้านคน โดยจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อวันมีแนวโน้มลดลงมากช่วงปลายปี 63 มาอยู่ที่ระดับ 5 แสนคน หลังการฉีดวัคซีนเริ่มแพร่หลายไปทั่วโลก และมีการคลายล็อคดาวน์ในหลายประเทศ ทำให้การดำเนินธุรกิจเริ่มกลับอีกครั้ง ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนความต้องการใช้น้ำมันในช่วงที่เหลือของปีนี้ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในยุโรปเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้บางประเทศในยุโรปกลับมาใช้มาตรการล็อกดาวน์ อาทิเช่น ฝรั่งเศส อิตาลี และโปแลนด์

           สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 12 มี.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น 4 สัปดาห์ติดต่อกัน สอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับขึ้น 3 ล้านบาร์เรล โดยปริมาณน้ำมันคงคลังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังหลายโรงกลั่นสหรัฐฯ หยุดดำเนินการผลิตจากอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติในช่วงกลางเดือน ก.พ. 64 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ล่าสุดโรงกลั่นน้ำมันสหรัฐฯ กลับมาดำเนินการผลิตที่ระดับ 13.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าระดับปกติเพียง 10% 

           JP Morgan คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับ 11.36 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 64 เพิ่มขึ้นจาก 11.32 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 63 เนื่องจากราคาน้ามันดิบทรงตัวในระดับสูง สวนทางกับสานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) ที่คาดว่าปริมาณการผลิตน้ามันดิบสหรัฐฯ ในปี 64 จะลดลง 160,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับปี 63 อยู่ที่ระดับ 11.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน

           รายงานของสำนักงานพลังงานสากล (IEA) เดือนมี.ค.64 คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันดิบทั่วโลกในปี 64 อยู่ที่ระดับ 96.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อเทียบกับปี 63 และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นราว 50,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับรายงานเดือน ก.พ. 64 สอดคล้องกับรายงานกลุ่มโอเปกเดือน มี.ค. 64 ที่คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันมีแนวโน้มปรับเพิ่มช่วงครึ่งหลังของปี 64 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง จากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งกลุ่มโอเปกประเมินความต้องการใช้น้ำมันปี 64 จะอยู่ที่ระดับ 96.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

           ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) แถลงผลการประชุมนโยบายการเงินว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง และยังคงซื้อพันธบัตรรัฐบาลตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างน้อย 1.2 แสนล้านดอลลาร์ต่อเดือน โดยเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ วงเงิน 8 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 64 และ 65 แตะระดับ 6.5% และ 3.3% ตามลำดับ

           เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยจีน ดัชนีผู้บริโภคสหราชอาณาจักรเดือน ก.พ. 64 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและบริการกลุ่มยูโรโซนเดือนมี.ค. 64

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 - 19 มี.ค. 64) 

     ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 4.19 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 61.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 4.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 64.53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 62.42 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เนื่องจากราคาได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ มูลค่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ได้รับได้อนุมัติและการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯที่คาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปี 64 ที่ระดับ 6.5% และการคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ  อย่างไรก็ตาม การระงับใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท Astrazeneca เป็นปัจจัยกดดันการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!