หมวดหมู่: เกษตร

5687 ส ผู้เลี้ยงสุกร สิทธิพันธ์


เกษตรกรร้องกรมศุลฯ ประชุมแก้หมูเถื่อนไม่คืบ ทำคดีล่าช้า วอนเร่งสานต่อให้จบ

          สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ วอนอธิบดีกรมศุลกากร ในฐานะ “ประธานคณะทำงานประสานงานแก้ไขปัญหาหมูเถื่อน” เร่งสานต่อคดีให้จบ หลังร้างราการเรียกประชุมหารือคณะทำงานมานานกว่า 10 เดือน ทำคดีไม่คืบและปัญหายังไม่คลี่คลาย เกษตรกรทั่วประเทศมองการทำงานภาครัฐด้วยความหนักใจ หวั่น “ผู้ร้าย” ทำลายหลักฐาน โยกย้ายเงิน และหลบหนี จนเจ้าหน้าที่รัฐคว้าน้ำเหลว

          นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่าเกษตรกรมีความหนักใจเกี่ยวกับความล่าช้าในการดำเนินคดีหมูเถื่อนที่ขณะนี้หยุดชะงักอยู่หลายคดี ไม่ว่าจะเป็น “คดี 161 ตู้” และ “คดี 2,385 ใบขน” ซึ่งแตกเป็นคดีย่อยอีกหลายคดี ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) และ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการไม่มีการประชุมติดตามงานใดๆ ในคณะทำงานฯ (คณะทำงานประสานงานแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าประเภทเนื้อสุกรหรือชิ้นส่วนสุกรที่ผิดกฎหมายและการบริหารจัดการของกลาง) มานานกว่า 10 เดือนแล้ว จนเป็นเหตุให้การสืบสวนสอบสวนหาหลักฐานข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนการทำงานของ DSI - ป.ป.ช. ไม่คืบหน้า

          “ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สมาคมฯมีการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั้งประเทศให้กลับมาประกอบอาชีพได้อย่างปกติสุข หลังบอบช้ำแสนสาหัสจากปัญหาหมูเถื่อน แต่ในช่วงเกือบปีมานี้กลับไม่มีการเรียกประชุมคณะทำงานฯเพื่อติดตามความคืบหน้าด้านการสอบสวนและแก้ปัญหาใดๆ จนทำให้เกษตรกรทั่วประเทศหนักใจ เกรงคดีล่าช้าจนเกิดความเสียหาย หรือนำไปสู่การทำลายหลักฐานของผู้ร้ายในขบวนการหมูเถื่อน ปัญหานี้หากถูกซ่อนไว้ใต้พรม เงียบหาย มันจะวกกลับมาทำลายเกษตรกรได้อีกในอนาคต” นายสิทธิพันธ์กล่าว

 

5687 หมูเถื่อน

 

          นอกจากนี้ การทำงานของกรมศุลกากรเองก็ยังไม่ได้รับการเปิดเผยในหลายประเด็น อาทิ การสอบสวนการยื่นขอเปิดเขตปลอดอากร (Free Zone) รวมถึงการตรวจสอบตู้ตกค้างในท่าเรือกรุงเทพและลาดกระบัง ตลอดจนเหตุผลที่ไม่มีการอายัดสินค้าในเขตปลอดอากรของผู้ต้องหา 2 บริษัทในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่โดนจับไปก่อนหน้า อีกทั้งยังไม่มีการสืบสวนหาข้อเท็จจริงในการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่กรมประมง ที่อนุมัตินำเข้าสินค้าหมูเถื่อนที่สำแดงเท็จเป็นปลาแช่แข็ง ซึ่งล้วนเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้คดีเดินหน้าต่อไปได้

          ล่าสุด เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรเพื่อขอให้สานต่อภารกิจของคณะทำงานฯ แล้ว

          “เราคาดหวังการแก้ปัญหาที่รวดเร็ว รวมถึงการวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต เพื่อรักษาอาชีพของเกษตรกรทุกคน ภายใต้ศรัทธาและความเชื่อมั่นในกระบวนการทางกฎหมายของบ้านเมือง ที่ควรเอาผิดผู้ร้ายให้ได้ไม่ว่าคนๆนั้นจะเป็นใคร” นายสิทธิพันธ์กล่าว

          อนึ่ง คณะทำงานประสานงานแก้ไขปัญหาการนำเข้าสินค้าประเภทเนื้อสุกรหรือชิ้นส่วนสุกรที่ผิดกฎหมายและการบริหารจัดการของกลาง ตั้งขึ้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2566 มี “อธิบดีกรมศุลกากร” เป็นประธานคณะทำงานฯ มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง เป็นคณะทำงานหลายภาคส่วน อาทิ ผอ.สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ผอ.สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ และ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เป็นต้น

 

 

5687

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!