EXIM-SME SAM2019

viriyah 1280x66

SAM1280x100px

50 ปี มิตรภาพไทย-จีน กยท. ร่วม สมาคมการค้าหกประเทศลุ่มน้ำโขงฯ เปิดโต๊ะหารือมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจยาง ดันมาตรการลดภาษีนำเข้ายางในจีน พร้อมหนุนระบบโลจิสติกส์ Transit ยางผ่านลำน้ำโขง

หมวดหมู่: CHINA
วันที่สร้าง วันอังคาร, 27 พฤษภาคม 2568 09:10
ฮิต: 469
LINE it!
50 ปี มิตรภาพไทย-จีน กยท. ร่วม สมาคมการค้าหกประเทศลุ่มน้ำโขงฯ เปิดโต๊ะหารือมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจยาง ดันมาตรการลดภาษีนำเข้ายางในจีน พร้อมหนุนระบบโลจิสติกส์ Transit ยางผ่านลำน้ำโขง
0 แชร์

 หกประเทศลุ่มน้ำโขง

50 ปี มิตรภาพไทย-จีน กยท. ร่วม สมาคมการค้าหกประเทศลุ่มน้ำโขงฯ เปิดโต๊ะหารือมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจยาง ดันมาตรการลดภาษีนำเข้ายางในจีน พร้อมหนุนระบบโลจิสติกส์ Transit ยางผ่านลำน้ำโขง

ณ โรงแรม เดอะริเวอร์รี บาย กะตะธานี อ.เมือง จ.เชียงราย – การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในนามผู้แทนประเทศไทย ร่วมกับสมาคมการค้าส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจหกประเทศลุ่มแม่น้ำโขง เปิดโต๊ะเจรจา ‘ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยางและข้อเสนอการลดภาษีนำเข้ายางพารา’

โดยมีคณะผู้แทนภาครัฐจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ วางแนวทางผลักดันมาตรการลดภาษีนำเข้ายางในจีนเป็นศูนย์ พร้อมกำหนดแนวทางลดอุปสรรคการค้าระหว่างประเทศ เตรียม ‘ตั้งคณะทำงานร่วมด้านยางพาราฯ – หนุนระบบขนส่งผ่านแม่น้ำโขง’

ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการประชุมสัมมนาความร่วมมือไทย-จีน 50 ปีมิตรภาพ’ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยางและข้อเสนอการลดภาษีนำเข้ายางพารา’ ในครั้งนี้ว่า นับเป็นจุดเริ่มต้นสานต่อความร่วมมือด้านธุรกิจยางพารา ระหว่าง กยท. กับสมาคมการค้าส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจหกประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ที่ตระหนักถึงความสำคัญของขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนความรู้ วิชาการและเทคโนโลยี

ไปจนถึงการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางพาราจากไทย โดยจีนพร้อมขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคในประเทศทั้งระบบ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์ยางพาราให้สามารถส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สอดคล้องกับ กยท. ที่ให้ความสำคัญกับห่วงโซ่อุปทานยางพาราทั้งระบบ ตั้งแต่กระบวนการผลิต โดยมีเป้าหมายให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยางพารา สามารถส่งออกผลผลิตและผลิตภัณฑ์ยางพาราที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สร้างความเชื่อมั่นในกลุ่มลูกค้าและคู่ค้าสร้างโอกาสทางธุรกิจ สร้างรายได้ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับยางพาราทั้งระบบอย่างยั่งยืน

ดร.เพิก กล่าวต่อไปว่า เป็นโอกาสดีที่หน่วยงานภาครัฐของทั้ง 2 ประเทศ ได้แก่ ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย กงสุลพาณิชย์จีน คณะผู้แทนฝ่ายจีนเขตปกครองตนเองสิบสองปันนากรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กยท. การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมการค้าส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจหกประเทศลุ่มแม่น้ำโขง

หกประเทศลุ่มน้ำโขง

ตลอดจนเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ได้ร่วมกันเจรจาและวางแนวทางในการส่งออกผลผลิตยางพาราไทยไปประเทศจีน ตลอดจนแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์เพื่อกำหนดแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการเกษตรให้ดียิ่งขึ้น โดยประเด็นหารือที่สำคัญ คือ การร่วมกันกำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อผลักดันให้ประเทศจีนลดอัตราภาษีนำเข้ายางพาราไทยเป็นศูนย์

โดยมีความเห็นตรงกันที่จะตั้งคณะทำงานร่วมด้านยางพารา ไทย–จีน–เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา เพื่อเข้ามาขับเคลื่อนให้มาตรการขอลดภาษีนำเข้าจีนและอุปสรรคทางการค้าอื่นๆ เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเตรียมประสานงานต่อในระดับรัฐบาลของทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดการผลักดันนโยบายในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีต่อไป

การประชุมสัมมนาความร่วมมือไทย – จีน 50 ปีมิตรภาพ’ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยางและข้อเสนอการลดภาษีนำเข้ายางพารา’ นอกจากจะเป็นการเปิดโต๊ะหารือเรื่องดังกล่าวแล้ว คณะผู้แทนทั้ง 2 ประเทศยังได้ลงพื้นที่ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน เพื่อศึกษาการส่งออกสินค้าเกษตรผ่านชายแดนโดยการขนส่งทางเรือ

เพื่อเชื่อมโยงระบบการขนส่งผลผลิตยางพาราและสินค้าเกษตร พร้อมติดตามผลการดำเนินงานควบคุมคุณภาพและการรวบรวมยางของสถาบันเกษตรกรฯ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลและสนับสนุนของการยางแห่งประเทศไทยฯ ณ ลานชะลอยางของสหกรณ์การเกษตรพญาเม็งราย

 

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

182

168 2