หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov สุริยะ1


ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2567 และครั้งที่ 2/2567 และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณ และรัฐวิสาหกิจนำมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไปเป็นแนวทางในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐต่อไป

          สาระสำคัญ

          คณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ) ในขณะนั้น เป็นประธานในที่ประชุม มีมติรับทราบรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 และเห็นชอบการกำหนดมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 สรุปได้ ดังนี้

              1.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,322,916 ล้านบาท ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

วงเงินจัดสรร/วงเงินกันฯ/แผนการใช้จ่าย(1)

การเบิกจ่าย

การใช้จ่าย(2)

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

(1) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ .. 2566 ไปพลางก่อน(3)

1,816,497

1,174,265

64.64

1,210,797

66.66

     (1.1) รายจ่ายประจำ

1,666,102

1,104,510

66.29

1,116,464

67.01

     (1.2) รายจ่ายลงทุน

150,395

69,755

46.38

94,333

62.72

รายจ่ายลงทุนไม่รวมงบกลาง

150,006

69,597

46.40

94,164

62.77

(2) เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี(4)

160,130

70,723

44.17

159,783

99.78

(3) เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 

(ไม่รวมเงินงบประมาณ)

226,030

77,928

34.48

 

 

รวมทั้งสิ้น

2,202,657

1,322,916

60.06

 

 

 

ที่มา : ข้อมูลจากการรวบรวม ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

หมายเหตุ : (1) แผนการใช้จ่ายเงินที่หน่วยงานคาดว่าจะใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

                 (2) ข้อมูลการใช้จ่าย ได้จาก PO + เบิกจ่าย + สำรองเงิน (มีหนี้) จากระบบ New GFMIS Thai ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

                 (3) งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน เป็นวงเงินงบประมาณที่สำนักงบประมาณอนุมัติจัดสรร 8 เดือน

                 (4) ข้อมูลเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) (1 ตุลาคม 2566 - 31 มกราคม 2567)

 

 

             ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ รวม 95 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2,033,537 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือน มกราคม 2567 เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 39,027 ล้านบาท (จากแผนการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 117,257 ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 33.28 ของแผนการเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

              1.2 การเบิกจ่ายงบประมาณ

                    ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

วงเงินจัดสรร

เบิกจ่ายแล้ว

ใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว)

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

รายจ่ายประจำ

1,666,102

1,104,510

66.29

1,116,464

67.01

รายจ่ายลงทุน

150,395

69,755

46.38

94,333

62.72

รวมทั้งสิ้น

1,816,497

1,174,265

64.64

1,210,797

66.66

 

              1.3 การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี

                    (1) เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณปี พ.ศ. 2566) มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 70,723 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 44.17 มีการใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) จำนวน 159,783 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.78 ของวงเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 160,130 ล้านบาท

                    (2) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ

 

ปัญหาอุปสรรค

 

ข้อเสนอแนะ

(1) ด้านกระบวนการดำเนินงาน มีการยกเลิกการดำเนินการและเริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่จากสาเหตุต่างๆ เช่น กรณีมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียว หรือผู้เสนอราคาไม่ผ่านคุณสมบัติ ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ หรือผู้รับจ้างขาดสภาพคล่อง ขาดแคลนแรงงาน ทำให้หน่วยงานยกเลิกสัญญา

(2) ด้านการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ บางโครงการต้องชะลอการดำเนินการ เนื่องจากไม่สามารถส่งมอบพื้นที่บางส่วนได้หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่

 

(1) ให้หัวหน้าหน่วยงานเจ้าของงบประมาณกำกับดูแลและเร่งรัดการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถก่อหนี้และเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

(2) หน่วยงานที่ขอตั้งงบประมาณควรประสานงานและเตรียมความพร้อมด้านพื้นที่ เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณจะได้ดำเนินการได้ทันที

(3) เนื่องจากการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2567 มีความล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลให้เบิกจ่ายไม่ทันภายในปีงบประมาณ .. 2567 กรมบัญชีกลางจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2567 ให้รวดเร็วขึ้น ดังนี้ (1) ให้หน่วยงานของรัฐเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนที่เป็นเรื่องภายในของหน่วยงานของรัฐไว้ก่อน และ (2) กำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินก่อนมีการตรวจรับทรัพย์สินหรือตรวจรับงานเพื่อให้มีเม็ดเงินลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วขึ้น

 

              1.4 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2567 ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำนวน 38,543 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 123 ของแผนการเบิกจ่าย หรือร้อยละ 16 ของกรอบงบลงทุน สรุปได้ ดังนี้

 

ประเภทรัฐวิสาหกิจ

ผลการเบิกจ่าย (ล้านบาท)

 

ผลการเบิกจ่ายจำแนกรายแห่ง

สูงสุด 3 อันดับ

ปีงบประมาณ

32,293

(ร้อยละ 116 ของแผนการเบิกจ่าย

หรือร้อยละ 26 ของกรอบงบลงทุน)

 

(1) การรถไฟแห่งประเทศไทย

(2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

(3) การประปานครหลวง

ปีปฏิทิน

6,251

(ร้อยละ 182 ของแผนการเบิกจ่าย

หรือร้อยละ 5 ของกรอบงบลงทุน)

 

(1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

(3) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

รวม

38,543

(ร้อยละ 123 ของแผนการเบิกจ่าย

หรือร้อยละ 16 ของกรอบงบลงทุน)

 

-

 

              1.5 การเบิกจ่ายเงินโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้

                    (1) โครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (จำนวน 95 โครงการ) ณ สิ้นเดือนมกราคม 2567 มีผลเบิกจ่าย จำนวน 39,027 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 33.28 ของแผนการเบิกจ่ายโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 117,257 ล้านบาท

                    (2) การดำเนินการของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เช่น 1) การจัดทำแผนการติดตามโครงการพัฒนา และโครงการประจำปี และรายงานผลการติดตามและการเบิกจ่ายเงินลงทุนของโครงการพัฒนาและโครงการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ 2) การติดตามสถานะโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้และผลการเบิกจ่ายเงินลงทุนเป็นรายเดือน และ 3) การเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการลงทุนภาครัฐที่ใช้เงินกู้ร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการและแหล่งเงินกู้ (Monitoring) เป็นต้น

        2. มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ปรับปรุงจากผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2567 ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2567 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 สรุปได้ ดังนี้

              2.1 เป้าหมายการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้

หน่วย : ร้อยละ

รายการ

รวม

ไตรมาสที่ 1

ไตรมาสที่ 2

ไตรมาสที่ 3

ไตรมาสที่ 4

เบิกจ่าย

ใช้จ่าย

เบิกจ่าย

ใช้จ่าย*

เบิกจ่าย

ใช้จ่าย*

เบิกจ่าย

ใช้จ่าย*

เบิกจ่าย

ใช้จ่าย

รายจ่ายภาพรวม

93

100

24

28

41

47

51

82

93

100

รายจ่ายประจำ

98

100

29

33

47

53

58

82

98

100

รายจ่ายลงทุน

75

100

7

11

15

24

21

80

75

100

 

หมายเหตุ : * มีการปรับเพิ่มเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่าย ไตรมาสที่ 1 - 3

 

 

              2.2 แนวทางการเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการ เช่น

                    (1) กรณีเป็นรายจ่ายที่ต้องดำเนินการหรือเบิกจ่าย โดยสำนักงานในส่วนภูมิภาค ให้หน่วยรับงบประมาณเร่งดำเนินการส่งเงินจัดสรรต่อไปยังสำนักงานในส่วนภูมิภาคภายใน 5 วันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรร เพื่อดำเนินการใช้จ่ายหรือก่อหนี้ผูกพันต่อไป

                    (2) กรณีหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับทุนหมุนเวียนที่ไม่เป็นนิติบุคคล ให้จัดสรรไปยังทุนหมุนเวียนทันทีเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับ

                    (3) รายการปีเดียว ให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในเดือนกันยายน 2567

                    (4) รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายลงทุนรายการใหม่ ควรดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2567

                    (5) ให้หัวหน้าหน่วยรับงบประมาณ รวมทั้งทุนหมุนเวียนภายใต้สังกัด กำกับดูแลบริหารจัดการเร่งรัดการดำเนินการ เพื่อให้สามารถก่อหนี้และเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งรายงานผลให้กรมบัญชีกลางทราบทุกวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เพื่อรายงานคณะกรรมการฯ และเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

              2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น

                    (1) กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบงบลงทุน และพิจารณากำหนดให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดของผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ

                    (2) เพิ่มการเบิกจ่ายในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2567 (Front - Loaded) และหลีกเลี่ยงการกระจุกตัวของการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสสุดท้าย

                    (3) ให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจกำกับดูแลให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุนให้ได้ตามเป้าหมาย และดำเนินการตามมาตรการข้างต้นอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพลังงานที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนประจำปี 2567 คิดเป็นสัดส่วนรวมกันมากกว่าร้อยละ 85 ของกรอบงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด

                    ทั้งนี้ ให้รัฐวิสาหกิจรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจทุกวันที่ 5 ของเดือนเพื่อรายงานคณะกรรมการฯ และคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567

 

 

6569

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!